วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

โครงการพระราชดำริ

โครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การบำบัดน้ำเสียตามพระราชดำริด้วย "กังหันน้ำชัยพัฒนา"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริ ให้จัดตั้ง "มูลนิธิชัยพัฒนา"เพื่อสนับสนุน การช่วยเหลือประชาชน ในรูปของการดำเนินการพัฒนาในด้านต่างๆ และจะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง   
จากการที่สภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงเกิดเป็นภาวะมลพิษอันเกิดจากน้ำเน่าเสียที่มี อัตรา และปริมาณสูงขึ้นจนยากแก่การแก้ไข พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบ ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณ เพื่อศึกษาวิจัยสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ร่วม กับกรมชลประทาน ซึ่งต่อมาเครื่องมือบำบัดน้ำเสียนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และเรียกกันว่า"กังหันน้ำชัยพัฒนา"
กังหันชัยพัฒนา เป็น กังหันน้ำเพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำแก่ปวงชน ทำงานโดย การหมุนปั่น เพื่อเติมอากาศให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี สามารถประยุกต์ใช้บำบัดน้ำเสีย จากการอุปโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มออกซิเจน ให้กับบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร  สามารถผลิตได้เองในประเทศ ซึ่งมีรูปแบบ "ไทยทำไทยใช้"โดยทรงได้แนวทางจาก "หลุก" ซึ่งเป็นอุปกรณ์วิดน้ำเข้านาอันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นจุดคิดค้นเบื้องต้น และทรงมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสีย


หลุก


    

วัตถุประสงค์
    1. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการพัฒนาอื่น ๆ
    2. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสงเคราะห์และ ช่วยเหลือประชาชนในด้าน เศรษฐกิจ และสังคม ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและให้สามารถช่วย ตัวเองและพึ่งตนเองได้
    
พระราชดำริ
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรูปแบบและพระราชดำริ เรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย โดยการเติมออกซิเจนในน้ำ มีสาระสำคัญ คือ 


*ใช้อากาศอัดเข้าไปตามท่อเป่าลงไปใต้ผิวน้ำแบบกระจายฟอง
*กังหันวิดน้ำ วิดตักขึ้นไปบนผิวน้ำ แล้วปล่อยให้ตกลงไปยังผิวน้ำตามเดิม โดยที่กังหันน้ำดังกล่าวจะหมุนช้า ด้วยกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาดเล็กไม่เกิน 2 แรงม้า หรืออาจจะใช้พลังน้ำไหลก็ได้



การทดลองวิจัยเพื่อประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศในขณะนี้มี 9 รูปแบบ คือ
1.เครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศลงไปใต้น้ำและกระจายฟอง Chaipattana Aerator, Model RX-1
เป็นเครื่องกลเติมอากาศ ที่ออกแบบแผงท่อ ให้เติมอากาศให้กับน้ำเสีย ใช้วิธีอัดอากาศ เข้าไปที่ท่อนำอากาศ แล้วแบ่งแยกออกกระจาย ตามท่อกระจายอากาศ ซึ่งเจาะรูเล็กๆ ไว้ เพื่อปล่อยอากาศออกมาเติม ให้กับน้ำเสีย
ขณะนี้เลิกใช้แล้ว เนื่องจากประสิทธิภาพต่ำ และมีปัญหาการอุดตันของท่อกระจาย ฟองอากาศ
2.เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบหมุนช้า หรือ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model
RX-2 เป็นเครื่องกลเติมอากาศ แบบทุ่นลอย มีใบพัด ขับเคลื่อนน้ำหมุนรอบเป็นวงกลม สำหรับขับเคลื่อน น้ำและวิดน้ำขึ้นไป สาดกระจายเป็นฝอย เพื่อให้สัมผัส กับอากาศได้ ช่วงที่ น้ำเสียถูกยกขึ้นมากระจายสัมผัส กับอากาศ และตก ลงไปยังผิวน้ำ จะทำให้เกิดฟอง อากาศจมตามลงไป ก่อให้เกิด การถ่ายเท ออกซิเจนอีก
3.เครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศหมุนใต้น้ำ หรือ "ชัยพัฒนาซุปเปอร์ฟองแอร์" Chaipattana Aerator, Model RX-3
เป็นเครื่องกลเติมอากาศ แบบทุ่นลอย ใช้วิธีอัดอากาศลงไปใต้น้ำ แล้วแยกกระจาย เป็น 8 ท่อ ตามแนวนอน ท่อกระจายฟองอากาศนี้ จะหมุนเคลื่อนที่ ได้โดยรอบ ทำให้การเติม อากาศเป็นไปอย่างทั่วถึง  
4. เครื่องกลเติมอากาศแรงดันน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาเวนจูรี่" Chaipattana Aerator, Model RX-4
เป็นเครื่องกลเติมอากาศ ที่ใช้ปั๊มแบบจุ่ม (ไดโวร์) เป็นตัวขับเคลื่อนน้ำ ให้ไหลออกไปตาม ท่อจ่ายน้ำ โดยที่ปลายท่อ จะทำเป็นคอคอด เพื่อดูดอากาศ จากข้างบน ผสมกับน้ำที่อัดลง ด้านล่าง

5.เครื่องกลเติมอากาศระบบอัดและดูดอากาศลงใต้น้ำ หรือ "ชัยพัฒนาแอร์เจท' Chaipattana Aerator, Model RX-5
เป็นเครื่องกลเติมอากาศ ที่ใช้ใบพัดหมุนอยู่ใต้น้ำ สำหรับขับเคลื่อนน้ำ ให้เกิดการ ปั่นป่วน และมีความเร็ว สูงสามารถ ดึงอากาศจากด้านบน ลงมาสัมผัส กับน้ำด้านล่าง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.เครื่องกลเติมอากาศแบบตีน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "เครื่องตีน้ำชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-6เป็นเครื่องกลเติมอากาศ ที่ใช้ใบพัดตีน้ำ ให้กระจายเป็นฝอย เพื่อให้น้ำสัมผัสกับอากาศ ด้านบน
7.เครื่องกลเติมอากาศแบบดูดและอัดน้ำลงไปที่ใต้ผิวน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาไฮโดรแอร์" Chaipattana Aerator, Model RX-7
เป็นเครื่องกลเติมอากาศ ที่ใช้ปั๊มดูดน้ำจาก ข้างใต้น้ำขึ้นมา สัมผัสอากาศ แล้วขับดันน้ำ ดังกล่าวลงสู่ใต้ผิวน้ำ อีกครั้ง ซึ่งจะทำให้น้ำด้านล่างเกิดการปั่นป่วน
8.เครื่องมือจับเกาะจุลินทรีย์ หรือ "ชัยพัฒนาไบโอ" Chaipattana Bio-Filter, Model RX-8
เป็นเครื่องที่ใช้ร่วม ในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย โดยใช้เส้นเชือก เป็นวัสดุตัวกลาง สำหรับให้จุลินทรีย์ ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เพื่อการย่อยสลาย ความสกปรกในน้ำเสีย
9.เครื่องกลเติมอากาศแบบกระจายน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "น้ำพุชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-9
เป็นเครื่องกลเติมอากาศ ที่ติดตั้งมอเตอร์ไว้ด้านบน แล้วต่อเพลาขับเคลื่อน เพื่อไปหมุน ปั๊มน้ำที่อยู่ใต้น้ำ เมื่อเครื่อง ทำงานปั๊มน้ำจะดูดน้ำ แล้วอัดเข้าท่อ ส่งไปยังหัวกระจายน้ำ ซึ่งมีลักษณะเป็นวงกลม เจาะรูไว้โดยรอบ โดยแรงดันของน้ำ ทำให้น้ำ สามารถพุ่งออกผ่านรูเจาะ สัมผัสกับอากาศ



                                     สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย
เป็นที่น่าปีติยินดีเป็นล้นพ้นแก่ปวงพสกนิกรไทยทั้งมวล เมื่อเครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรและเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรถวายแด่พระมหากษัตริย์ด้วย จึงนับได้ว่าสิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นเป็น
"สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก"


โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง"

โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง"
ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เล่าถึงความเป็นมาของโครงการฝนหลวงว่า โครงการฝนหลวงนี้ได้มีพระราชดำริครั้งแรกเมื่อปี พ.. 2498 แก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ว่าจะทรงค้นหาวิธีการที่จะทำให้เกิดฝนตกเพิ่มมากขึ้น นอกเหนือไปจากที่ได้รับจากธรรมชาติ โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์เข้ากับทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อให้เกิดมีศักยภาพในการสร้างฝน ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล และความอัจฉริยะของพระองค์ท่าน ซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ จึงสังเกตวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้นแล้วว่าจะทรงค้นหาวิธีการที่จะทำให้เกิดฝนให้ได้เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์เทวกุล ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรวิศวกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศึกษาแนวทางในการค้นคว้าทดลอง จึงได้มีการจัดตั้ง "โครงการค้นคว้าทดลองการทำฝนเทียม" ขึ้นในปี พ.. 2512 และได้มีการวิจัยและพัฒนาวิธีการทำฝนเทียมอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุด ได้ค้นพบวิธีการทำฝนเทียมแบบใหม่เป็นกรรมวิธีของประเทศไทยโดยเฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากวิธีปฏิบัติที่ใช้ในต่างประเทศ

ความสำคัญของ "ฝนหลวง"
ฝนหลวงนี้ ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์สำหรับแหล่งน้ำที่จำเป็นต้องใช้ในการเพาะปลูกสำหรับเกษตรกรในสภาวะแห้งแล้งเท่านั้น หากรวมถึงการเพิ่มปริมาณน้ำในแหล่งกักเก็บขนาดใหญ่ ให้มีสภาพสมบูรณ์เก็บไว้ใช้ตลอดปีอีกด้วย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะใต้ดินมีแหล่งหินเกลือครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง ซึ่งถ้าน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กและขนาดกลางไม่มีทางระบายออก หากมีปริมาณน้ำเหลือน้อย น้ำจะกร่อยหรือเค็มได้นอกจากนั้นในภาวะการขาดแคลนน้ำ ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำลดต่ำลง จนบางแห่งไม่สามารถใช้สัญจรไปมาทางเรือได้ การทำฝนหลวงจะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำให้กับบริเวณดังกล่าว ทำให้สามารถใช้สัญจรได้ดังเดิม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพราะในแม่น้ำบางสายถือเป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าที่สำคัญ นอกจากนั้นการขนส่งทางน้ำยังเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าทางอื่นอีกด้วยน้ำจากน้ำฝนยังมีส่วนช่วยอย่างมากในการผลักดันน้ำเค็มจากอ่าวไทย หากน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณน้อยลงเมื่อใด น้ำเค็มจากทะเลอ่าวไทยก็จะไหลหนุนเข้าไปแทนที่ทำให้เกิดน้ำกร่อยขึ้น สร้างความเสียหายแก่การเกษตร และการอุปโภค บริโภคของการประปาของคนกรุงเทพฯ เป็นจำนวนมาก
จึงจำเป็นต้องมีการปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อผลักดันน้ำเค็มมิให้หนุนเข้ามาทำความเสียหายต่อการอุปโภค บริโภคหรือเกษตรกรรมนอกจากนั้น "ฝนหลวง" ยังได้บรรเทาภาวะสิ่งแวดล้อมเป็นพิษอันเกิดจากการะบายน้ำเสียลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและขยะมูลฝอยที่ผู้คนทิ้งลงในสายน้ำกันอย่างมากมายนั้น ปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะช่วยผลักดันออกสู่ท้องทะเล ทำให้มลพิษจากน้ำเสียเจือจางลดลงซึ่งสังเกตเห็นได้ชัดเจนมากจากขยะมูลฝอยและกระแสน้ำเสียต่างสีในบริเวณปากน้ำจนถึงเกาะล้าน เมืองพัทยาในขณะที่บ้านเมืองของเราพัฒนาไป การใช้พลังงานไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้นทุกขณะ สืบเนื่องมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าเนื่องจากมีความต้องการใช้ไฟฟ้าในปริมาณสูง จึงเป็นที่หวั่นเกรงว่าอาจจะเกิดขึ้นได้ ในสภาวะวิกฤตที่ระดับน้ำเหนือเขื่อนมีระดับต่ำมากจนไม่เพียงพอต่อการใช้พลังน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้าส่งให้ผู้ใช้ได้อย่างทั่วถึง ซึ่งฝนหลวงสามารถช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนซึ่งใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า จึงนับได้ว่า โครงการฝนหลวงเป็นพระราชดำริที่ทรงคุณค่าอเนกอนันต์ยิ่งนัก

กรรมวิธีในการทำฝนหลวง
แนวความคิดในการสร้างน้ำฝน คือเมื่ออากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น พบกับมวลอากาศที่มีความชื้นและเย็นจะทำให้เกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำตกลงมาเป็นฝน การทำฝนหลวงที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันใช้วิธีการโปรยสารเคมีทางเครื่องบินตามสภาวะต่าง ๆ ซึ่งเป็นวิธีตามแบบไทย เพื่อให้เกิดสภาพที่จะสร้างเป็นฝนได้ โดยขั้นตอนแรกจะเป็นการรวบรวมไอน้ำในบรรยากาศให้รวมตัวเป็นเมฆ จากนั้น จึงสร้างเมฆให้มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือ "เลี้ยง" ให้เจริญเติบโต จนขั้นสุดท้ายจึงเป็นการโจมตีกลุ่มเมฆเหล่านั้นให้ตกเป็น
ฝนในบริเวณพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งกรรมวิธีดังกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานขั้นตอนการดำเนินงานไว้ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน (สร้างเมฆให้ก่อตัวขึ้น)
การก่อกวน เป็นขั้นตอนแรกของการสร้างฝนเทียม เพื่อให้เมฆธรรมชาติเริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง โดยการใช้สารเคมีไปกระตุ้นมวลอากาศทางด้านเหนือของลมของพื้นที่เป้าหมายให้เกิดการลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบนรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเมฆ เพื่อให้เกิดกระบวนการรวมไอน้ำ หรือความชื้นเข้าสู่ระดับการเกิดก้อนเมฆ ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นเมฆก้อนใหญ่ต่อไป

ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน (เร่งและช่วยให้เมฆรวมตัวกันมากขึ้น)
การเลี้ยงให้อ้วน เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลังก่อตัวเจริญเติบโต ซึ่งเป็นระยะที่สำคัญมากในการปฏิบัติการฝนหลวง จึงใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีและประสบการณ์ผสานกลยุทธ์ในเชิงศิลปะแห่งการทำฝนหลวงควบคู่ไปพร้อมกัน เพื่อตัดสินใจในการกำหนดสารเคมีฝนหลวงที่จะโปรยในกลุ่มก้อนเมฆ หรือ ปริมาณการโปรยที่เหมาะสม มิฉะนั้นแล้ว จะทำให้เมฆสลายตัวได้ สารเคมีที่โปรยจะเป็นสารที่ดูดซับความชื้นได้ดี ทำให้เม็ดน้ำในก้อนเมฆมีขนาดใหญ่ขึ้น ในขั้นตอนนี้ผลจากสารเคมีที่โปรยจะทำให้เกิดการไหลเวียนของกระแสอากาศ ทำให้เกิดการรวมตัวของเม็ดน้ำ ซึ่งการก่อตัวของเมฆที่ระดับความสูงต่างกันทำให้เกิดเมฆต่างกัน โดยเมฆไม่สามารถก่อยอดไปถึงระดับจุดเยือกแข็ง หรือที่ความสูงประมาณ18,000 ฟุต จะเรียกว่า "เมฆอุ่น" และที่ระดับ 20,000 ฟุต จะเรียกว่า "เมฆเย็น"

ขั้นตอนที่ 3 โจมตี (บังคับให้เมฆเกิดเป็นสายฝน)
เมื่อกลุ่มเมฆมีความหนาแน่นมากเพียงพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้ ก็จะเข้าสู่กระบวนการ "โจมตี" การปฏิบัติในขั้นตอนนี้มีจุดหมาย 2 ประการ คือ เพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน โดยภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย สังเกตได้ถ้าหากเครื่องบินเข้าไปในกลุ่มเมฆนี้แล้ว จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีกและกระจังหน้าของเครื่องบิน ดังนั้นขั้นตอนสุดท้ายนี้จึงความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์เป็นอย่างมากเนื่องจากก้อนเมฆที่ก่อตัวขึ้นลักษณะที่ต่างกัน ดังนั้นการโจมตีจึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับชนิดของก้อนเมฆ ในการโจมตีเมฆอุ่น จะใช้วิธีที่เรียกว่าแซนด์วิช ซึ่งจะใช้เครื่องบินสองลำ โดยเครื่องบินลำแรก
จะโปรยผงโซเดียมคลอไรด์ที่ระดับ 9,000 ถึง 10,000 ฟุต และเครื่องบินอีกลำจะโปรยผงยูเรียและน้ำแข็งแห้งที่ฐานเมฆ

สำหรับการโจมตีเมฆเย็น มีวิธีการอยู่สองวิธี คือแบบธรรมดา และแบบซูเปอร์แซนด์วิช
การโจมตีแบบธรรมดาจะใช้เครื่องบินเพียงลำเดียว ยิงพลุสารเคมี ซิลเวอร์ไอโดไดด์ เข้าสู่ยอดเมฆที่ระดับ 21,500 ฟุต อนุภาคของซิลเวอร์ไอโอไดด์ซึ่งจะเป็นแกนเยือกแข็งให้ไอน้ำเกาะ และยกตัวสูงขึ้นส่งผลให้เกิดการชักนำอากาศชื้นเข้าสู่ฐานเมฆเพิ่มขึ้น เม็ดน้ำที่เกาะกันเข้ากับผลึกน้ำแข็งก่อตัวกลายเป็นก้อนน้ำแข็งที่มีน้ำหนักมากขึ้นล่วงหล่นสู่เบื้องล่าง ซึ่งจะละลายเป็นเม็ดฝนเมื่อผ่านมาที่ฐานเมฆสำหรับการโจมตีแบบซูเปอร์แซนด์วิชจะเป็นการผสมผสานการโจมตีของทั้งการโจมตีเมฆอุ่นและการ
โจมตีเมฆเย็นแบบธรรมดาเข้าด้วยกัน ในเวลาเดียวกัน ซึ่งวิธีการนี้ จะให้มีประสิทธิภาพในการเพิ่มปริมาณน้ำฝนสูงยิ่งขึ้น

การเพิ่มปริมาณฝน
การเร่งการตกของฝนและเพิ่มปริมาณน้ำฝน ทำได้โดยการโปรยเกล็ดน้ำแข็งแห้งที่ใต้ฐานเมฆ เกล็ดของน้ำแข็งแห้งจะมีอุณหภูมิต่ำมาก ทำให้บรรยากาศระหว่างเมฆกับพื้นดินเย็นลง ส่งผลให้ฐานเมฆลดระดับต่ำลง ซึ่งจะเกิดฝนในทันทีหรือทำให้ปริมาณฝนตกเพิ่มมากยิ่งขึ้น และตกต่อเนื่องเป็นเวลานานรวมทั้งยังมีความหนาแน่นยิ่งขึ้น

สารเคมีในการทำฝนหลวง
สารเคมีที่ใช้ทำฝนหลวงทุกชนิดได้ผ่านการวิเคราะห์ทดลอง และคัดเลือกแล้วว่าไม่มีพิษตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อม ในปัจจุบันสารเคมีที่ใช้มีทั้งหมดอยู่ 8 ชนิดซึ่งมีลักษณะเป็นทั้งแบบผงและสารละลาย คุณสมบัติโดยทั่วไปของสารเคมีที่ใช้จะเป็นสารที่ดูดซับความชื้นได้ดี และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเมื่อสัมผัสกับน้ำหรือความชื้น นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติเป็นแกนสำหรับการกลั่นตัวของเม็ดน้ำในอากาศซึ่งจะทำให้เกิดเป็นฝนในการทำฝนหลวง
เครื่องบินในโครงการฝนหลวง เครื่องบินนับเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากสำหรับการทำฝนหลวง เพราะนอกจากจะต้องใช้เครื่องบินในการวิจัยแล้ว ยังต้องใช้เครื่องบินในการโปรยสารเคมีตามกระบวนการต่างๆ เพื่อทำให้เกิดฝน ดังนั้นสมรรถนะของเครื่องบิน ไม่ว่าจะเป็นระวางในการบรรทุกสารเคมี ความเร็วในการบินไต่ระดับ ความสูงของเพดานบิน ระยะทางในการบิน และความสมบูรณ์ของเครื่องมือและอุปกรณ์การบิน จึงมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำฝนหลวงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรับถึงความยากลำบากและการเสี่ยงอันตรายจากการทำฝนหลวง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.. 2536 ดังนี้ ".....แต่มีวิธีที่จะทำได้เพื่อบรรเทาสถานการณ์ เช่น ทำฝนเทียม หมายความว่า ความชื้นที่ผ่านเหนือเขต เราดักเอาไว้ให้ลงได้ ปีนี้ได้ทำมากพอใช้ ทำเป็นเวลา
ต่อเนื่องกันไปประมาณเกือบ 3 เดือน ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ทำนั้นต้องเหน็ดเหนื่อยมาก เพราะว่าเครื่องบินก็มีน้อย อุปกรณ์ก็มีน้อย เจ้าหน้าที่ที่ทำฝนเทียมนั้นต้องเสี่ยงอันตรายมาก เพราะเครื่องบินที่มีอยู่ก็เก่าแล้วและชำรุดบ่อย...."

เครื่องไม้เครื่องมือที่จำเป็น
การปฏิบัติการฝนหลวงคงจะไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพถ้าปราศจากเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยในการค้นคว้าวิจัย และการปฏิบัติงาน เครื่องมือที่สำคัญที่สุดเห็นจะเป็นเครื่องมือทางอุตุนิยมวิทยา เพื่อใช้ในการศึกษาสภาพอากาศนอกเหนือไปจากแผนที่อากาศและภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมอุตุนิยมวิทยาแล้ว ยังต้องมีเครื่องมืออื่น ๆ ในการตรวจวัดสภาพอากาศ ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องวัดลมชั้นบน ซึ่งจะเป็นตัวบอกทิศทางและความเร็วของลมเครื่องวิทยุหยั่งอากาศ ซึ่งจะบอกถึงอุณหภูมิและความชื้นของบรรยากาศในชั้นต่าง ๆเรดาห์ตรวจอากาศ ซึ่งมีทั้งแบบติดตั้งบนรถยนต์และแบบติดตั้งตายตัวที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการสั่งการผ่านซอฟต์แวร์เฉพาะสำหรับการตรวจอากาศ และนี่เอง ทำให้คอมแพคได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้โครงการนี้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ด้วยการวางระบบเครื่องแม่ข่าย คอมแพค อัลฟ่าเซิร์ฟเวอร์ซึ่งใช้ในการเก็บบันทึกรวบรวมข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึกในรูปแบบที่ทันสมัย สะดวกและรวดเร็ว จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้คณะปฏิบัติการฝนหลวงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่นสามารถที่จะทราบความเคลื่อนไหวของกลุ่มเมฆต่าง ๆ และเมฆกลุ่มใดที่ต้องการจะทำฝน ตลอดจนทำฝนที่ใดและสามารถคำนวณปริมาณน้ำฝนในก้อนเมฆได้ว่ามีค่าเท่าใด ควรจะใช้สารสูตรใด ปริมาณเท่าใดเหล่านี้เป็นต้น ซึ่งถึงปัจจุบันเครื่องของคอมแพคก็ทำงานอยู่ในโครงการนี้มานานเป็นเวลาหลายสิบปีแล้วเครื่องมือตรวจวัดอากาศที่ผิวพื้นต่าง ๆ เช่นเครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดความเร็ว และทิศทางลม และเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้นและนี่คือ "โครงการพระราชดำริฝนหลวง" หนึ่งในโครงการที่เราคนไทยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นแรงบันดาลใจ ให้เราคนไทยได้ตระหนักถึงการรังสรรค์คุณประโยชน์เพื่อประเทศชาติ

น้ำพระทัยของในหลวง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรเสมือนหนึ่งเป็นความทุกข์ของพระองค์ และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ มิได้ทรงนึกแต่เพียงว่าทรงเป็นพระประมุข ของประเทศไทยโดยนิตินัย หรือตามกฎหมายรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่พระองค์ทรงระลึกอยู่เสมอว่า พระองค์เป็นคนไทย คนหนึ่งที่จะต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขกับคนไทยทุกคนทั่วประเทศ จึงทรงมีพระราชดำริ ที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรเหล่านี้ให้เกิดความ "พออยู่ พอกิน" ชาวไทย ทั้งหลายต่างซาบซึ้ง และตระหนักในพระมหากรุณาธิคุณ อันใหญ่หลวงของพระองค์ ที่แสดงถึงพระราชหฤทัยอันเปี่ยมล้น ด้วยพระเมตตาและทรงใช้พระอัจฉริยภาพ ในด้านต่าง ๆ พระราชทานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อประโยชน์สุข แก่ทุกชีวิตในประเทศไทยตลอดมา ซึ่งล้วนเป็นโครงการที่จะยังความผาสุขแก่ประชาชนอย่างแท้จริงโครงการตามพระราชดำริ เป็นโครงการที่ทรงวางแผนพัฒนา ทรงเสนอแนะให้รัฐบาลร่วมดำเนินการตามพระราชดำริโดยพระองค์เสด็จฯร่วมทรงงานกับหน่วยงาน ของรัฐบาล ในปัจจุบันเรียกโครงการนี้ว่า "โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ"มีกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยทั้งหมด 2,416 โครงการ ตั้งแต่เริ่มแรก จนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2538 โดยเป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงาน คณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(สำนักงาน กปร.) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2525-2538 จำนวน1,598 โครงการ แยกออกเป็นประเภทต่าง ๆได้ 8 ประเภท ได้แก่โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ สิ่งแวดล้อม การเกษตร การสาธารณสุข การคมนาคม สื่อสาร การส่งเสริมอาชีพ สวัสดิการสังคมและอื่นๆซึ่งในจำนวนโครงการเหล่านี้ การพัฒนาแหล่งน้ำได้ใช้งบประมาณและมีจำนวนโครงการมากกว่าโครงการประเภทอื่น ๆ

การพัฒนาแหล่งน้ำ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่น ทรงให้ความสำคัญในลักษณะ "น้ำคือชีวิต"ดังพระราชดำรัส ณ สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2529 ความตอนหนึ่งว่า "….หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่า ชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ ไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้…"

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แบ่งออกเป็นได้ 5 ประเภท คือ
1. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภค ได้แก่ อ่างเก็บน้ำ และฝายทดน้ำ
2. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการรักษาต้นน้ำลำธาร
3. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
4. โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม
5. โครงการบรรเทาอุทกภัย

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สามารถก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติเป็นส่วนรวมทั้งในระยะสั้น และระยะยาว พอสรุปได้ดังนี้
1. ช่วยให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้ำอย่างอุดมสมบูรณ์ สามารถทำการเพาะปลูกได้ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง
2. ในบางท้องที่เคยมีน้ำท่วมขัง จนไม่สามารถใช้ทำการเพาะปลูกได้ โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น บริเวณขอบพรุ ทำให้พื้นที่แห้งลงจนสามารถจัดสรรให้ราษฎรที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง เข้าทำกินได้ ช่วยให้ไม่ไปบุกรุกทำลายป่า หาที่ทำกินแห่งอื่น ๆ ต่อไป
3. เมื่อมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดต่าง ๆ ไว้ก็มีการปล่อยพันธุ์ปลา ทำให้ราษฎรตามหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงสามารถมีปลาบริโภคภายในครอบครัว หรือเสริมรายได้ขึ้น
4. ช่วยให้ราษฎรมีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคที่สะอาดอย่างพอเพียงตลอดปี และยังช่วยให้มีแหล่งน้ำสำหรับการเลี้ยงสัตว์ด้วย
5. บางโครงการจะเป็นประเภทเพื่อบรรเทาอุทกภัยในเขตชุมชนเมืองใหญ่ ๆ เช่น โครงการน้ำดีไล่น้ำเสียโครงการกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวา โครงการบำบัดน้ำเสียโดยการเติมอากาศด้วยกังหันชัยพัฒนาโครงการแก้มลิงป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
6. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ช่วยให้ราษฎรที่อยู่ในป่าเขาในท้องที่ทุรกันดารมีไฟฟ้าใช้ได้บ้าง
7. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการรักษาต้นน้ำลำธารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยการสร้างฝายเก็บกักน้ำบริเวณต้นน้ำลำธารเป็นชั้น ๆ พร้อมระบบกระจายน้ำจากฝายต่าง ๆ ไปสู่พื้นที่สองฝั่งของลำธารทำให้พื้นดินชุ่มชื้น มีแนวกระจายไปทั่วบริเวณต้นน้ำลำธาร ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ไว้ต่อไป

แนวพระราชดำริด้านการป่าไม้
เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ..2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าถึงแรงบันดาลใจ ในความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ป่า น้ำดิน ซึ่งโยงใยมีผลกระทบต่อกัน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ว่า".....อาจมีบางคนเข้าใจว่า ทำไมถึงสนใจเรื่องชลประทาน หรือเรื่องป่าไม้ จำได้เมื่ออายุ 10 ขวบ ที่โรงเรียนมีครูคนหนึ่ง ซึ่งเดี๋ยวนี้ตายไปแล้วสอนเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการอนุรักษ์ดินแล้วให้เขียนว่า ภูเขาต้องมีป่า อย่างนั้นเม็ดฝนลงมาแล้วจะชะดินลงมาเร็ว ทำให้ไหลตามน้ำไป ไปทำความเสียหายดินหมดจากภูเขาเพราะไหลตามสายน้ำไป ก็เป็นหลักของป่าไม้ เรื่องการอนุรักษ์ดิน และเป็นหลักของชลประทานที่ว่า ถ้าเราไม่รักษาป่าไม้ข้างบน จะทำให้เดือดร้อนตลอด ตั้งแต่ดินภูเขาจะหมด ไปกระทั่งการที่จะมีตะกอนลงมาในเขื่อน มีตะกอนลงมาในแม่น้ำทำให้น้ำท่วมนี่นะ เรียนมาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ....."การที่ทรงเห็นความสำคัญของปัญหาป่าเสื่อมโทรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านอื่นๆ ไม่เฉพาะแต่ปัญหาเรื่องดิน เรื่องน้ำเท่านั้น หากโยงใยถึงปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง คุณธรรมและระบบนิเวศน์ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้แนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาป่า มิได้เป็นกิจกรรมที่ดำเนินไปอย่างโดดๆ หากแต่รวมเอางานพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมด เข้าไปทำงานในพื้นที่ อย่างประสานสัมพันธ์กันแนวพระราชดำริด้านการป่าไม้ จำแนกออกเป็นหมวดหมู่ตามงานได้ดังนี้
1.การอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อม
2.การฟื้นฟูสภาพป่าและการปลูกป่า
3.การพัฒนาเพื่อให้ชุมชนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน


       โครงการฝายคลองช่องเรือ
(อันเนื่องมาจากพระราชดําริ) ตําบลทรายขาว อําเภอโคกธิ์ จังหวัดปัตตานี

ที่ตั้งโครงการ
หมู่ที่ ตําบลทรายขาว อําเภอโคกธิ์      จังหวัดปัตตานี

 ประวัติโครงการ
                    สํานักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวังได้มีหนังสือที่ รล0005/13381 ลงวันที่ 24 กันยายน  2544    เรียนเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ เพื่อพิจารณาเสนอความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ  เพื่อจักได้นำความถวายบังคมทูลพระกรุณาประกอบพระราชดำริต่อไปโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ได้มีหนังสือที่  นร  1108/2098  ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2544 ขอให้กรมชลประทานพิจารณา กรณี นายอาดัม    บาเหมบูงา ประธานกรรมการองค์การบริหารส่วนตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ได้มีหนังสือลงวันที่ 11 กันยายน  2544  ถึงสํานักราชเลขาธิการ  ขอให้นําความกราบบังคมทูลพระมหากรุณาให้ทางราชการช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเนื่องจากขาดแคลนน้ำสําหรับอุปโภค-บริโภค    จากโครงการประปาภูเขา   ช่องเรือ  ของราษฎรจำนวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, 2, 3 และ 5 ตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
                    สํานักชลประทานที่ 16 ร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริและราษฎรที่ประสบความเดือดร้อนร่วมกันตรวจสอบสภาพพื้นที่และศึกษาข้อมูลต่าง  ๆ ในสภาพภูมิประเทศจริงแล้วเห็นว่ามีลู่ทางช่วยเหลือราษฎรที่ประสบความ เดือดร้อนได้โดยการก่อสร้าง  ฝายคลองช่องเรือทดแทนทํานบคอนกรีตเดิมที่ชํารุด พร้อมระบบท่อส่งน้ำ และถังอุปโภค-บริโภค เพื่อส่งน้ำช่วยเหลือการอุปโภค-บริโภค ของราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนดังกล่าว
                    ได้นําความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วและทรงรับเป็นโครงการพระราชดําริ ตามหนังสือสํานักราชเลขาธิการที่ รล 0005.5/18753 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2545.

วัตถุประสงค์
                    เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำสําหรับอุปโภค - บริโภคช่วงฤดูแล้งให้มีน้ำอุปโภค - บริโภคได้เพียงพอ ตลอดปีและสามารถเพาะปลูกตามแนวท่อส่งน้ำได้ ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจํานวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านใหญ่ หมู่ที่ 2 บ้านหลวงจันทร์ หมู่ที่ 3 บ้านทรายขาวออก หมู่ที่ 5บ้านทรายขาวตก ตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จํานวน 526 ครัวเรือน ประชากร

รายละเอียดโครงการ
- ที่ตั้งหัวงานพิกัด  47 NQH 331-361 ระวาง 5,222 III
- พื้นที่รับน้ำ   ประมาณ 3,800 ตร.กม.  ปริมาณฝนเฉลี่ย  1,227.04 มม.

 ลักษณะโครงการ
- ก่อสร้างฝายสูง 2.00 เมตร จํานวน 1 แห่ง
- ก่อสร้างถังเก็บน้ำ 1,600 ลูกบาศก์เมตร
- ถังกรองน้ำ - ถังเก็บน้ำความจุ 10 ลูกบาศก์เมตร จํานวน 11 แห่ง
- ท่อส่งน้ำ  0.25  เมตร 0.15 เมตร และ0.055 เมตร ความยาวรวม 12,325 เมตร

ระยะดําเนินการ
ดําเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จใน ปี 2547

งบประมาณในการก่อสร้าง
งบประมาณที่ได้รับ 22,906,000 บาท

 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                    สามารถส่งน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค ให้แก่ราษฎรในเขตพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านใหญ่ , หมู่ที่ 2 บ้านหลวงจันทร์ , หมู่ที่ 3 บ้านทรายขาวออก และหมู่ที่ 5 บ้านทรายขาวตก  ตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี  จํานวน  526  ครัวเรือน  จํานวนประชากรประมาณ  1,798  คน  มีน้ำใช้สําหรับอุปโภค - บริโภค ได้ตลอดทั้งปี


โครงการจัดหาน้ำให้บ้านนางโอและบ้านลุตง อันเนื่องมาจาก

พระราชดําริ อําเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี


 ที่ตั้งโครงการ
       บ้านนางโอ หมูที่ 4 ตําบลแม่ลาน อําเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี

 ประวัติโครงการ
                         สำนักเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง ได้มีหนังสือที่  รล 0005/15427    ลงวันที่  31 ตุลาคม  2544  เรียนเลขาธิการกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  เพื่อเสนอพิจารณาเสนอความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ    เพื่อจักได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาประกอบพระราชดำริต่อไป  โดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ได้มีหนังสือที่ นร.1108/2331  ลงวันที่  12  พฤษภาคม  2544  ขอให้กรมชลประทานพิจารณา กรณี นายกานต์ แก้วศรีบุญ  สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาน   อำเภอแม่ลาน   จังหวัดปัตตานี  ได้มีหนังสือลงวันที่  27  สิงหาคม   2544  ถึงสำนักราชเลขาธิการ  ขอให้นำความกราบบังคมทูลกรุณา ขอพระราชทานพระมหากรุณาขอพระราชทานพระกรุณาให้ทางราชการช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเนื่องจากขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภค - บริโภค และทําการเพาะปลูกพืชผักสวนครัว โดยเฉพาะฤดูแล้งของทุกปี ของราษฏร หมู่ที่ 4 บ้านนางโอ และหมู่ที่ 6 บ้านลุตง ตําบลแม่ลาน อําเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี จํานวน 250 ครัวเรือน ประชากรประมาณ 1,000  คน
                         สํานักชลประทานที่ 12  ร่วมกับสํานักงานคณกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริและราษฎรที่ประสบความเดือนร้อนร่วมกันตรวจสอบสภาพพื้นที่  และศึกษาข้อมูลต่าง     ในสภาพภูมิประเทศจริงแล้วเห็นว่ามีลู่ทางช่วยเหลือราษฏรที่ประสบความเดือนร้อนได้โดยการก่อสร้างทํานบดินกั้นน้ำยาวประมาณ  150  เมตร พร้อมอาคารระบายน้ำ        และก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำพร้อมอาคารประกอบ เพื่อกระจายน้ำสู่พื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อน
ได้นําความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว  และทรงรับเป็นโครงการพระราชดําริ ตามหนังสือสํานักราชเลขาธิการที่ รล 0005/08479  ลงวันที่  19  มิถุนายน  2545

 วัตถุประสงค์
            เพื่อช่วยเหลือราษฏรที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ําสําหรับอุปโภค - บริโภค ช่วงฤดูแล้ง
ให้มีน้ำอุปโภค - บริโภค ได้อย่างพอเพียงตลอดทั้งปี และสามารถเพาะปลูกตามแนวท่อส่งน้ําได้ซึ่งราษฏรที่ได้รับความเดือนร้อนจํานวน 2 หมู่บ้าน คือ
1. หมู่ที่ 4 บ้านนางโอ ตําบลแม่ลาน อําเภอแม่ลาน  จังหวัดปัตตานี  จํานวน ประมาณ  150 
ครัวเรือน   ราษฏรประมาณ  600 คน
2. หมู่ที่ 6 บ้านลุตง  ตําบลแม่ลาน        อําเภอแม่ลาน       จังหวัดปัตตานี     จํานวนประมาณ  100  ครัวเรือน ราษฏรประมาณ  400 คน

 รายละเอียดโครงการ
 -  ที่ตั้งหัวงานพิกัด 47 NQH  457 - 366  ระวาง  5222  III
พื้นที่รับน้ํา ประมาณ 1.00 ตร.กม.ปปริมาณฝนเฉลี่ย 2,062 มม.
ก่อสร้างท่อระบายน้ำขนาด 2.00*2.00 เมตร พร้อมคันกั้นน้ำ จํานวน 1 แห่ง
ก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำ ขนาด φ 0.15 ม. และ φ 0.10 ม.
    พร้อมอาคารประกอออบตามแนวท่อส่งน้ำ ความยาวท่อส่งน้ำรวม 3,700 ม. 
ก่อสร้างถังเก็บน้ําขนาดความจุ 10 ลบ.ม.  จํานวน แห่ง
ก่อสร้างถังกรองน้ํา  30  ลบ.ม./ซม.  จํานวน 5 แห่ง
ก่อสร้างระบบสูบน้ํา และ House Serice จํานวน 1 แห่ง

 ลักษณะโครงการ
 สูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ํา

 ระยะดําเนินการ
 ดําเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2546

 งบประมาณในการก่อสร้าง
งบประมาณที่ได้รับ  17,484,500  บาท

 ประโยชน์ที่ได้รับ
       เมื่อก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จตามคาดว่าจะสามารถช่วยเหลือราษฏรหมู่ที่ 4  บ้านนางโอ  ตําบลแม่ลาน  อําเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี จํานวนประมาณ 150 ครัวเรือน  ราษฏรประมาณ 600 คน และ  เกษตรกรรม และ หมู่ที่ 6 บ้านลุตง ตําบลแม่ลาน  อําเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี จํานวนประมาณ 100  ครัวเรือน  ราษฏรประมาณ 400 คนให้มีน้ําใช้ในการอุปโภค - บริโภคได้เพียงพอตลอดปี และสามารถใช้น้ำในการเพาะปลูกตามแนวท่อส่งน้ำได้
  


โครงการในพระราชดำริด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน

การใช้ที่ดินกันอย่างขาดความระมัดระวังและไม่มีการบำรุงรักษา ซึ่งทำให้เกิดความเสื่อมโทรมทั้งด้านเคมีและกายภาพ ปัญหาเหล่านี้ หากไม่ได้รับการแก้ไขย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีแนวพระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องของดิน ทั้งในแง่ของการปัญหาดินที่เสื่อมโทรม ขาดคุณภาพ และการขาดแคลนที่ดินทำกินสำหรับเกษตรกร ตัวอย่างของโครงการในพระราชดำริด้านการอนุรักษ์ดิน ได้แก่ ทฤษฎีแกล้งดิน ทฤษฎีการป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดินโดยหญ้าแฝก เป็นต้น

ทฤษฎีแกล้งดิน
ในการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวซึ่งทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล ในหลวงของเรามีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่างๆพิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำขังตลอดปี ให้เกิดประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุดและให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศด้วยศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการแกล้งดินเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการ แกล้งดินให้เปรี้ยวด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไปเพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ (Pyriteหรือ FeS2) ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน (O2) ในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถัน (Sulphuric Acid) ออกมา
ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีดจนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้

วิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดำริ มีดังนี้
    1. ควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน จึงต้องควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรท์อยู่ เพื่อไม่ให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์(Oxidization)
1) ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด เมื่อล้างดินเปรี้ยวให้คลายลงแล้วดินจะมีค่า pH เพิ่มขึ้น อีกทั้ง
สารละลายเหล็กและอลูมินั่มที่เป็นพิษเจือจางลงจน ทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดย
เฉพาะถ้าหากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟตก็สามารถให้ผลผลิตได้
2) การใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน เช่น ปูนมาร์ล ปูนฝุ่น ซึ่งปริมาณของปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับ
ความรุนแรงของความเป็นกรดของดิน
3) การใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เป็นวิธีการที่สมบูรณ์ที่
สุดและใช้ได้ผลมาก ในพื้นที่ซึ่งดินเป็นกรดจัดรุนแรงและถูกปล่อยทิ้งเป็นเวลานาน
3. การปรับสภาพพื้นที่ มีอยู่ 2 วิธี คือ
1) การปรับระดับผิวหน้าดิน ด้วยวิธีการ คือ
- ปรับระดับผิวหน้าดินให้มีความลาดเอียง เพื่อให้น้ำไหลไปสู่คลองระบายน้ำ
- ตกแต่งแปลงนาและคันนาใหม่ เพื่อให้เก็บกักน้ำและระบายน้ำออกไปได้
2) การยกร่องปลูกพืช สำหรับพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล หรือไม้ยืนต้นที่ให้ผลตอบแทนสูง ถ้าให้ได้ผลต้องมีแหล่งน้ำชลประทานเพื่อขังและถ่ายเทน้ำได้เมื่อน้ำในร่องเป็นกรดจัด การยกร่องปลูกพืชยืนต้นหรือไม้ผล ต้องคำนึงถึงการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่นั้น หากมีโอกาสเสี่ยงสูงก็ไม่ควรทำ หรืออาจยกร่องแบบเตี้ยๆ พืชที่ปลูกเปลี่ยนควรเป็นพืชล้มลุกหรือพืชผักและควรปลูกเป็นพืชหมุนเวียนกับข้าวได้

ทฤษฎีการป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดินโดยหญ้าแฝก
 ในหลวงของเราทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาการชะล้างพังทลายของดินและการสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ จึงทรงศึกษาถึงศักยภาพของ หญ้าแฝกซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านของไทยที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดิน ซึ่งมีวิธีการปลูกแบบง่ายๆเกษตรกรสามารถดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องให้การดูแลหลังการปลูกมากนัก อีกทั้ง ยังประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีอื่นๆ อีกด้วย จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลองเกี่ยวกับหญ้าแฝกหญ้าแฝกมีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ หญ้าแฝกดอน และ หญ้าแฝกหอม เป็นพืชที่มีอายุหลายปี ขึ้นเป็นกอแน่น มีใบเป็นรูปขอบขนานแคบปลายสอบแหลม ยาว 35-80 ซม. มีส่วนกว้าง 5-9 มม. หญ้าแฝกจะมีการขยายพันธุ์ที่ได้ผลรวดเร็ว โดยการแตกหน่อจากลำต้นใต้ดิน ในบางโอกาสสามารถแตกแขนงและรากงอกในส่วนของก้านช่อดอกได้ เมื่อหญ้าแฝกโน้มลงดินทำให้มีการเจริญเติบโตเป็นกอหญ้าแฝกใหม่ได้

การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ได้แก่
การปลูกเป็นแถวตามระดับขวางความลาดชันเพื่อชะลอความเร็วของน้ำและดักตะกอนดิน ส่วนน้ำจะไหลซึมลงไปสู่ดินชั้นล่างได้มากขึ้น เป็นการเพิ่มความชุ่มชื้นในดิน ส่วนรากหญ้าแฝกจะหยั่งลึกลงไปในดินอาจถึง 3 เมตร ซึ่งสามารถยึดดินป้องกันการพังทลายได้
การปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชัน โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคใต้ ให้ปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวรั้ว
บริเวณคันคูขอบเขาหรือริมขั้นบันไดดินด้านนอกโดยควรปลูกเป็นแถวตามแนวขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน
การปลูกเพื่อการอนุรักษ์ความชุ่มชื้นในดิน โดยปลูกแถวหญ้าแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผล ปลูกแบบวงกลมรอบไม้ผล และปลูกแบบครึ่งวงกลมหงายรับน้ำฝน
การปลูกเพื่อป้องกันตะกอนดินทับถมลงสู่คลองส่งน้ำ ระบายน้ำ อ่างเก็บน้ำในไร่นาตลอดจนปลูกรอบสระ หรือปลูกเป็นแถวขนานไปกับแม่น้ำ ลำคลอง เพื่อกรองตะกอนดิน
การปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของไหล่ถนนที่ลาดชันสูง โดยปลูกหญ้าแฝกเพื่อยึดดินและเบี่ยงเบนทางน้ำไหลบริเวณไหล่ทาง และปลูกขวางแนวลาดเทเพื่อป้องกันการพังทลายและเลื่อนไหลของดิน
การปลูกในพื้นที่ดินดาน รากหญ้าแฝกสามารถหยั่งลึกลงไปในดินดาน ทำให้ดินแตกร่วนขึ้น และหน้าดินจะมีความชื้นเพิ่มขึ้น
การปลูกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษในแหล่งน้ำ รากหญ้าแฝกจะเป็นกำแพงกักกั้นดินและสารพิษที่ปะปนมากับน้ำไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่างและรากยังมีประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุโลหะหนักและสารเคมีบางอย่างได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น
ลักษณะของหญ้าแฝกที่ขึ้นตามธรรมชาติ






ที่มา


รายชื่อสมาชิก
น.ส. ศิริวรรณ สามัญฤทธิ์     53492441125
น.ส. ปภาพินท์ โพธิวงศ์        53492441131
น.ส. ขวัญมนัส อยู่เกตุ          53492441134
น.ส. ลลิตา แหยมถนอม       53492441135
น.ส. จุฬาลักษณ์ รักษาศรี     53492441139
น.ส. ชัชญา ติยะจินดา          53492441142
น.ส. สุไรยา กาเพ็ชร             53492441150
การท่องเที่ยว ห้อง3 ตอนเรียน D1